การครอบแก้วคืออะไร? เหมาะกับใครบ้าง?

การครอบแก้วคืออะไร? เหมาะกับใครบ้าง?

การครอบแก้วคืออะไร? เหมาะกับใครบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนน่าจะเคยเห็นคนเดินอยู่ตามท้องถนน ที่หลังมีจ้ำๆ กลมๆ อยู่ทั่วแผ่นหลัง อย่าตกใจว่าเขาเป็นโรคอะไรหรอกนะคะ เพราะที่จริงแล้วนั่นคือร่องรอยจากการ "ครอบแก้ว" หรือ Cupping Therapy นั่นเอง มันคืออะไร ทำกันอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง มาศึกษาข้อมูลจาก พญ.ธนันต์ ศุภศิริ รพ.สมิติเวชสุขุมวิท กันค่ะ

 

ที่มา : Newsgroup

______

______________

การครอบแก้วคืออะไร (Cupping Therapy)

การครอบแก้ว คือการใช้กระปุกสุญญากาศครอบไปบนผิวหนัง โดยมีวิธีทำให้กระปุกเกิดสุญญากาศทั้งจากการใช้ไฟลนภายในกระปุกก่อนที่จะครอบลงบนผิวหนัง หรือการที่ใช้อุปกรณ์ดูดอากาศออกจากกระปุกที่ครอบลงไปแล้ว ทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณใต้ผิวหนังขยายตัวหรือแตกออกเกิดเป็นรอยแดง-คล้ำตามรอยขอบกระปุกนั้น

เนื่องจากทฤษฏีทางการแพทย์แผนจีนกล่าวไว้ว่าโรคหลายชนิดเกิดจากการเดินทางของพลังงาน (ชี่) ติดขัด ซึ่งการครอบแก้วนี้ จะช่วยสลายการติดขัดนั้น ทำให้พลังงานหรือชี่เดินทางได้สะดวกขึ้นจึงสามารถรักษาโรคหรืออาการบางชนิดได้

การครอบแก้วมีประโยชน์อย่างไร เหมาะกับโรคอะไรบ้าง

การครอบแก้วทำให้มีการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังบริเวณนั้น ในทางสรีรวิทยา การครอบแก้วมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกลไก 2 ประการ ได้แก่ การกระตุ้นกลไกการอักเสบเฉพาะที่และเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง นอกจากนี้ การครอบแก้วมีผลให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทและกระตุ้นปลายประสาทรับสัมผัสบางชนิด ทำให้มีฤทธิ์ลดปวด จึงทำให้มีการนำการครอบแก้วมาใช้รักษาอาการปวดต่างๆ ทั้งการปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่นอาการปวดคอ ปวดหลัง หรืออาการปวดของเส้นประสาทเช่น ปวดจากงูสวัด เป็นต้น แต่ประโยชน์ของการครอบแก้วไม่ได้มีเพียงรักษาอาการปวดเท่านั้น ปัจจุบันยังนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น สิว ฝ้า อัมพาตใบหน้า (Bell's palsy) อ่อนเพลีย ซึมเศร้า รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสมมติฐานที่เชื่อว่าการครอบแก้วช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อทุกระดับและยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย


ข้อควรระวัง

แม้ว่าการครอบแก้วหากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ถือว่าเป็นหัตถการที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงต่ำ อย่างไรก็ตาม มีข้อห้ามบางประการที่ไม่ควรได้รับการรักษาด้วยการครอบแก้ว เช่น ตั้งครรภ์ มะเร็งระยะลุกลาม กระดูกหัก ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis) หรือในบริเวณที่ผิวหนังมีบาดแผล เป็นต้น และการครอบแก้วในบริเวณที่ไม่เหมาะสม หรือคาไว้นานเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้

 

____________________

 

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ตเพจ Pleasehealth Books
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook