วิตามินซี อาจไม่ช่วยป้องกันโรคหวัด และไม่ช่วยบำรุงผิว?

เอาแล้วไง! “วิตามินซี” อาจไม่ช่วยป้องกันโรคหวัด และไม่ช่วยบำรุงผิว?

เอาแล้วไง! “วิตามินซี” อาจไม่ช่วยป้องกันโรคหวัด และไม่ช่วยบำรุงผิว?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊ค Dr.Aki - หมออาคิ กล่าวถึงประโยชน์ของวิตามินซีว่า การกินวิตามินซีมีส่วนช่วยลดอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ชัดเจน ซึ่งเป็นผลมาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของวิตามินซี ที่ช่วยป้องกันเซลล์เยื่อบุเส้นเลือดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระนั่นเอง

แต่ไม่เพียงเท่านี้ หมออาคิยังพูดถึงประโยชน์ของวิตามินซีที่คนทั่วไปเข้าใจกันว่า วิตามินช่วยป้องกันหวัดได้ และยังช่วยบำรุงผิว เพิ่มคอลลาเจนให้กับผิว ซึ่งอันที่จริงแล้วหากอ้างอิงจากผลการศึกษาทางการแพทย์ต่างๆ ในเรื่องดังกล่าว (Cochrane database) สรุปได้ว่า วิตามินซีไม่น่าจะมีผลช่วยป้องกันโรคหวัด รวมไปถึงผลของการกินวิตามินซีต่อการเพิ่มคอลลาเจนนั้นก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน

แต่อย่างไรก็แล้วแต่ วิตามินซียังเป็นวิตามินที่ดีต่อร่างกาย หากรับประทานอย่างถูกวิธีค่ะ

วิตามินซี บริโภคตอนไหนดี ?

อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่า ถึงแม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่า วิตามินซี จะช่วยป้องกันหวัดและมีผลต่อการเพิ่มคอลลาเจนในร่างกายได้ แต่อย่างน้อยก็ยังถือว่าเป็นวิตามินมีประโชยน์ที่ร่างกายควรจะได้รับ มีผลดีต่อสุขภาพ โดยวิตามินซีนั้นสามารถละลายในน้ำได้และมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะตัวที่จะคอยช่วยสร้างคอลลาเจนในกระดูกอ่อน หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ซึ่งร่างกายจะรับเอาวิตามินชนิดนี้มาจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นวิตามินซีเสริม โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักและผลไม้รสเปรี้ยว

สำหรับการรับประทานวิตามินซีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนเราก็เลือกที่จะบริโภควิตามินซีได้ทั้งนั้น แต่ต้องรับประทานเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำสเมอ หากให้ดี แนะนำว่าให้เลือกทานเป็นช่วงเช้าประมาณ 9 - 10 โมง หลังจากที่ทานอาหารเช้าเสร็จ เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินซีได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยมีตัวนำพา อีกทั้งต้องบริโภคให้เพียงพอต่อที่ร่างกายต้องการ ประมาณ 1000 - 2000 มิลลิกรัมขึ้นไป ถ้าจะให้ดี แนะนำว่าควรบริโภควิตามินซีที่มาจากธรรมชาติ อาทิ ผัก ผลไม้ จะทำให้ได้ประโยชน์มากกว่าวิตามินซีอัดเม็ด

ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวัน

จากข้อมูลขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัญอเมริกาได้ให้คำแนะนำว่า ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปควรได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม อย่างน้อย 60 มิลลิกรัม/วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายน้ำและสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ ฉะนั้น จึงควรบริโภควิตามินซีอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

วิตามินซีช่วยในเรื่องอะไร ?

  1. ช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟัน ซึ่งก็คือ โรคเลือดออกตามไรฟัน
  2. ช่วยให้เนื้อเยื้อภายในร่างกายทำงานได้ตามปกติ
  3. ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กในทางเดินอาหาร
  4. ช่วยสมานแผล ให้แผลหายได้เร็วขึ้น
  5. ช่วยในให้ระบบภูมคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ วิตามินซีก็ยังช่วยในเรื่องของการกำจัดอนุมุลอิสระที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องได้รับในปริมาณที่มาก ประมาณ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัม/วัน จึงจะหวังผลให้ออกฤทธิ์เป็นตัวกำจัดอนุมุลอิสระได้

ในข้อดีก็ต้องมีข้อที่ควรยกเว้นอยู่บ้าง เพราะการที่เราบริโภควิตามินซีในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการของร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งในความเป็นจริงพบได้ยาก แต่ก็ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ โลหิตจาง เนื่องจากตัววิตามินซีจะไปขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน บี 12 , นิ่วในไต , ท้องเสีย เป็นต้น ฉะนั้นแล้ว หากต้องการบริโภควิตามินซีในปริมาณที่มากกว่า 60 มิลลิกรัม/วัน ติดต่อกัน แนะให้รับประทานหลัง หรือพร้อมอาหาร แล้วก็ให้ดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อให้วิตาซีละลายและถูกดูดซึมไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น

บริโภค วิตามินซี ยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  • บริโภควิตามินซีเพื่อบรรเทาหวัด : การกินวิตามินซีวันละ 2 เวลา จะทำให้ระดับของฮิสตามีน ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดการน้ำมูกไหลลดลงได้ถึงร้อยละ 40
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานควรบริโภควิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน : เนื่องจากวิตามินซีจะเข้าไปช่วยลดสารต่อต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของหลอดเลือด ทั้งช่วยป้องกันโรคและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไตวาย , โรคหัวใจ เป็นต้น
  • บริโภควิตามินซีพร้อมกับอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็น : วิตามินซีที่เรารับเข้าสู่ร่างกายนั้นจะถูกขับออกมาภายใน 2 - 3 ชั่วโมง ทำให้การรักษาระดับของมินซีในเลือดให้สูงอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพของเรามาก
  • การเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินซี : ทำได้ง่ายๆ เพียงบริโภควิตามินซีร่วมกับแคลเซียม แมกนีเซียม และไบโอฟลาโวนอยด์ จะทำให้วิตามินมีผลในการรักษาที่ดีขึ้น
  • สัญญาณที่บอกว่าร่างกายได้รับวิตามินซีเกิน : อาการที่เรามักสังเกตเห็นได้ง่าย ได้แก่ อาการท้องเสีย ที่มักเกิดกับผู้ที่ได้รับปริมาณวิตามินซีสูงกว่า 8,000 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดอาการนี้ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนก็สามารถย่อยวิตามินซีได้วันละหลายกรัม

ท้ายที่สุด ถึงแม้เราจะรู้ว่าวิตามินซีสามารถรับประทานได้ทุกเมื่อตามที่เราต้องการ แต่การจะได้รับให้เพียงพอต่อวันนั้นก็ยังต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้ง วิตามินซีก็ยังมีโอกาสที่จะเสื่อมสลายได้ง่ายหากสัมผัสเข้ากับออกซิเจน ความร้อน และความชื้นในอากาศ

___________________

<< Vitamin C...ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด?? >>

วิตามินเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในบรรดาวิตามินทั้งหมดตัวที่ทุกคนรู้จักดีที่สุดคือ "วิตามินซี" มีหน้าที่สำคัญมากต่อร่างกายโดยทำงานเป็น 'สารต้านอนุมูลอิสระ' คอยปกป้องเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย

อนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายเรา เป็นต้นเหตุหนึ่งของความเสื่อมของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย รวมถึงโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ถ้าร่างกายปราศจากสารต้านอนุมูลอิสระจะทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเราเสื่อมอย่างรวดเร็ว และยังเพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายแรงอีกมากมาย

โดยทั่วไปหลายคนมีความเชื่อเกี่ยวกับวิตามินซีอยู่ 2 ประเด็น คือ "กินวิตามินซีแล้วช่วยป้องกันโรคไข้หวัดได้" และ "กินวิตามินซีแล้วช่วยทำให้ผิวเต่งตึงขึ้นเนื่องจากทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเพิ่มขึ้น"

- ความเชื่อแรกที่ว่าวิตามินซีป้องกันไข้หวัดนั้น เมื่ออ้างอิงจากผลการศึกษาทางการแพทย์ต่างๆในเรื่องดังกล่าว (Cochrane database) สรุปได้ว่า วิตามินซีไม่น่าจะมีผลช่วยป้องกันโรคหวัด

- สำหรับความเชื่อในเรื่องการกินวิตามินซีช่วยเพิ่มคอลลาเจนนั้น เมื่อดูจากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าผลของการกินวิตามินซีต่อการเพิ่มคอลลาเจนนั้นก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาทางการแพทย์ต่างๆชี้ไปในทางเดียวกันว่า "การกินวิตามินซีมีส่วนช่วยลดอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ชัดเจน" ซึ่งผลดีนี้เกิดจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของวิตามินซีช่วยป้องกันเซลล์เยื่อบุเส้นเลือดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระนั่นเอง(ดังภาพประกอบ)

ป.ล. ติดตามอ่านบทความ วิตามินซี...ก่อนหรือหลังอาหารดี? ต่อได้นะครับ

Credit-pictures: NHK TV, Japan (ดัดแปลงภาพโดยใส่ข้อความภาษาไทย)

 

____________________

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก เฟซบุ๊ค Dr.Aki - หมออาคิ
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook