เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สัญญาณเสี่ยงอาการทางจิต

เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สัญญาณเสี่ยงอาการทางจิต

เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สัญญาณเสี่ยงอาการทางจิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมในที่เรียน ที่ทำงาน ในกลุ่มเพื่อน หรือในโลกออนไลน์ เราอาจจะเคยเห็นคนที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล “ฉันไม่ผิด คนอื่นนั่นแหละผิด” เรียกร้องความสนใจ และไม่ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น หากพบเห็นใครมีอาการดังกล่าว เขาคนนั้นอาจกำลังเสี่ยงมีอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “โรคเจ้าชาย” ได้

 

โรคเจ้าชาย (Prince Syndrome) คืออะไร?

โรคเจ้าชาย (Prince Syndrome) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อนึงว่า โรคเจ้าหญิง (Princess Syndrome) คือ อาการทางจิต ที่ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าชาย เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล เป็นที่หนึ่งอยู่เสมอ หลงตัวเอง เห็นแก่ตัว ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่แคร์สังคม ทำอะไรไร้จิตสำนึก ชอบเรียกร้องความสนใจของคนอื่น มีความสุขเมื่อคนอื่นให้ความสนใจตนเอง จิตใจหยาบกระด้าง หยาบคาย ยกตัวเองให้สูงกว่าคนอื่นเสมอ โกหกเก่ง ไปจนถึงขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นตลอดจน ปฏิเสธคำพูดและเหตุผลของผู้อื่น

สาเหตุของโรคเจ้าชาย

โรคเจ้าชาย เป็นโรคยอดฮิตในปัจจุบันที่เริ่มต้นมาจากวัยรุ่นที่แสดงพฤติกรรมแปลกประหลาด ซึ่งนั่นเป็นนิสัยเสียหลักๆ ของวัยรุ่นไทยปัจจุบัน สาเหตุนี้เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในสมัยใหม่ที่ไม่ใส่ใจลูกเท่าที่ควร ขาดความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมตามวัย หรือในทางตรงกันข้าม คือเกิดจากครอบครัวที่มีความเข้มงวดมากเกินไป ถูกเลี้ยงดูอย่างตามใจ ทำอะไรถูกต้องเสมอไม่เคยโดนดุด่าว่ากล่าว หรือได้รับคำแนะนำอย่างเหมาะสม ครอบครัวที่ยกย่องลูกให้เป็นใหญ่ สอนลูกให้ชนะอยู่เสมอ ไม่เคยแพ้  หรือไม่ก็เคยโดนกลั่นแกล้งจนเป็นปมฝังใจ มาตั้งแต่ยังเล็ก ถูกปิดกั้นจากสังคมภายนอก ขาดกำลังใจ ขาดคนเข้าใจ รวมไปถึงการเป็นคนหน้าตาดี มีความสามารถ ที่ไม่เคยมองคนอื่นนอกจากตัวเองเก่ง หรือหน้าตาดี

 

วิธีรักษา โรคเจ้าชาย

วิธีการในการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยว่าพร้อมที่จะรับการบำบัดจิตหรือไม่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะมีการปรับทัศนคติ ปรับความคิดในส่วนนั้นให้น้อยลงหรือให้หมดไป แนะนำว่าอย่ามีความวิตกกังวลจนเกินเหตุ เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้ โรคเจ้าชายไม่มียารักษา มีเพียงยาที่ช่วยในการคลายเครียดหรือระงับอาการกังวลเพียงเท่านั้น หรือจะใช้วิธีครอบครัวบำบัดคอยให้กำลังใจ คอยรับฟัง เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจและสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น ทั้งหมดนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยว่าจะให้ความร่วมมือในการรักษามากน้อยเพียงใด

หากพบผู้ใดมีอาการใกล้เคียงดังกล่าว เราอาจพูดคุยทำความเข้าใจกับเขา อธิบายเหตุผลของอีกฝ่ายอย่างใจเย็น ไม่กล่าวหาว่าเขาเป็นคนผิด แต่หากบุคคลนั้นมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ควรแนะนำให้เขาปรึกษาจิตแพทย์จะดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook