8 สัญญาณเตือนเสี่ยง “ภาวะช็อค”

8 สัญญาณเตือนเสี่ยง “ภาวะช็อค”

8 สัญญาณเตือนเสี่ยง “ภาวะช็อค”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะช็อค เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้อวัยวะของเราเกิดความเสียหาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต Sanook! Health เลยจะมาบอก 8 สัญญาณเตือนเสี่ยง ภาวะช็อค” ให้คุณได้ระมัดระวังกัน

ภาวะช็อค คือ ภาวะคุกคามชีวิตที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการไหลเวียนของเลือดที่ไม่เพียงพอ อวัยวะและเซลล์ไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่เพียงพอที่จะทำงานอย่างสมบูรณ์ ภาวะช็อคต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนไม่อย่างนั้นอาการจะทรุดตัวอย่างรวดเร็ว

 

สาเหตุอาการช็อคเกิดจาก

- ร่างกายเสียน้ำ อวัยวะไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอที่จะทำงานอย่างถูกต้อง หรือเลือดมากเกินไป

- ติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระแสเลือด

- แพ้สารต่างๆ หรืออาการแพ้ประจำตัว

- การทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทและสมอง

- โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ

- ยาบางอย่างที่ช่วยลดการทำงานของหัวใจหรือความดันโลหิต

- อุบัติเหตุ

 

อาการเมื่ออยู่ในภาวะช็อค

1. มีอาการกระสับกระส่าย ครั่นเนื้อครั่นตัว

2. หายใจเร็ว ลมหายใจสั้นและถี่ เนื่องจากระบบหายใจมีการทำงานผิดปกติ

3. ชีพจรเต้นเร็ว เบา หรือเต้นไม่คงที่

4. เนื้อตัวเย็น ผิวสีซีด อ่อนแรง แต่ไม่มีอาการชาตามร่างกาย เหงื่อออกมากกว่าปกติ

5. มึนงง วิงเวียน มีอาการหน้ามืด เริ่มมีอาการทรงตัวไม่อยู่

6. ตาดำไม่เคลื่อนไหว หรือเกิดอาการตาค้าง ตาเบลอ

7. มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นบริเวณหน้าอก

8. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือไม่ปัสสาวะนาน 4-6 ชั่วโมง

9. ไม่รู้สึกตัว หมดสติ

 

วิธีช่วยเหลือผู้ที่มีอาการช็อค

1. ควรโทรเรียกรถพยาบาล เพื่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที

2. ดูอาการผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติของระบบการหายใจเกิดขึ้นหรือไม่ หากผู้ป่วยหายใจแผ่วเบา หรือไม่หายใจ ให้เริ่มต้นการช่วยหายใจด้วยการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) ทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุกๆ 5 นาทีเพื่อตรวจสอบอัตราการหายใจ

3. อย่าทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะอาจกระทบกับอวัยวะ เช่น ศีรษะ คอ หรือกระดูกสันหลัง

4. ยกขาผู้ป่วยขึ้นประมาณ 12 นิ้ว แต่อย่ายกระดับหัวปล่อยผู้ป่วยให้นอนราบไปกับพื้น

5. คลายเสื้อผ้าที่แน่นออก เพื่อให้หายใจสะดวก

6. หากผู้ป่วยเกิดอาเจียนออกมา จับหันศีรษะหันไปข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก

7. ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานอะไรทั้งสิ้น

8. อย่ารอให้เกิดอาการช็อคอย่างรุนแรงควรนำตัวส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการ

 

เพื่อป้องกันจากภาวะช็อค ทุกคนจึงควรหมั่นไปตรวจสุขภาพบ่อยๆ ว่าร่างกายแข็งแรงดี หรืออาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการช็อคในอนาคตหรือไม่ ดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะเพื่อหลักเลี่ยงภาวะผิดปกติของร่างกายโดยไม่ทันตั้งตัว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก medlineplus.gov
ภาพประกอบจาก istockphoto
โดย แพรว คงฟัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook