จริงหรือไม่? ผู้ชายไม่สวมกางเกงใน เสี่ยงโรคไส้เลื่อน?

จริงหรือไม่? ผู้ชายไม่สวมกางเกงใน เสี่ยงโรคไส้เลื่อน?

จริงหรือไม่? ผู้ชายไม่สวมกางเกงใน เสี่ยงโรคไส้เลื่อน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณผู้ชายหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันแล้ว และน่าจะเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า “ไม่สวมกางเกงใน เสี่ยงโรคไส้เลื่อน” กันมาแล้วด้วย แค่ไม่ใส่กางเกงใน ก็เสียงเป็นโรคไส้เลื่อนได้จริงหรือ Sanook! Health มีคำตอบให้ค่ะ

 

โรคไส้เลื่อน มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคไส้เลื่อน เป็นอาการที่ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ อวัยวะภายใน หรือเนื้อเยื่อบางส่วนเคลื่อนตัวยื่นออกมานอกช่องท้อง จากบริเวณที่ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง อาจมีอาการเจ็บ หรือเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ยื่นออกมาให้เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกได้

 

โรคไส้เลื่อน มีกี่ชนิด

ไส้เลื่อนไม่ได้มีชนิดเดียว แต่มีอยู่หลายชนิด โดยแบ่งออกเป็นตำแหน่งที่เกิดไส้เลื่อน มีทั้งไส้เลื่อนบริเวณอัณฑะ ไส้เลื่อนบริเวณผนังหน้าท่องส่วนล่าง ไส้เลื่อนโคนขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ไส้เสื่อนจากแผลผ่าตัด ไส้เลื่อนกระบังลม และบริเวณอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่อาจพบได้น้อย

 

ผู้หญิงเป็นโรคไส้เลื่อนได้หรือไม่?

ทุกเพศทุกวัย มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อนได้หมด หากแต่ผู้ชายอาจมีความเสี่ยงมากกว่าเล็กน้อย จากการใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมที่รุงแรงต่อผนังหน้าช่องท้องมากกว่าผู้หญิง

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคไส้เลื่อน

สาเหตุที่ทำให้ผนังหน้าท้องขาดความแข็งแรง จนลำไส้ยื่นออกมาได้ มีดังนี้

  1. มีความผิดปกติของช่องท้องมาตั้งแต่กำเนิด อาจขาดกล้ามเนื้อท้องช่องบางส่วน ทำให้ลำไส้เลื่อนตัว ยื่นออกมานอกช่องท้อง บริเวณระหว่างช่องท่องกับลูกอัณฑะได้มากกว่าคนอื่นๆ

  2. อายุที่มากขึ้น อาจทำให้ผนังหน้าท้องเสื่อมลง จนขาดความแข็งแรง และลำไส้ยื่นออกมานอกช่องท้องได้

  3. เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงกับหน้าท้อง จนทำให้ผนังหน้าท้องบาดเจ็บ หรือเกิดความเสีบหาย

  4. มีภาวะแรงดันในช่องท้องสูง จากการออกแรงยกของหนัก ไอหรือจามอย่างหนักบ่อยๆ เบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ จนทำให้มีแรงดันในช่องท้องบ่อยๆ เป็นสาเหตุให้ผนังช่องท้องด้านหน้าถูกทำลายอย่างช้าๆ

  5. ผนังช่องท้องมีความอ่อนแอหลังการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพราะเนื่อเยื่อในช่องท้องยังบอบบาง และขาดความยืดหยุ่น หากแผลผ่าตัดเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไส้เลื่อนมากขึ้น

  6. สูบบุหรี่

  7. เป็นโรคอ้วน

    ดังนั้นการไม่สวมกางเกงใน ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไส้เลื่อนแต่อย่างใด

 

โรคไส้เลื่อน มีอาการอย่างไร?

- ปวดบริเวณที่เกิดไส้เลื่อน ปวดแบบตื้อๆ หน่วงๆ และเป็นๆ หายๆ

- บางรายอาจไม่มีอาการปวดเลย แต่พบก้อนเนื้อนูนๆ ออกมาบริเวณที่เกิดไส้เลื่อน

 

โรคลำไส้เลื่อน อันตรายมากไหม?

ในกรณีที่เป็นโรคไส้เลื่อน และมีอาการปวดเฉียบพลัน อาจอยู่ในภาวะลำไส้ขาดเลือด อาจต้องทำการผ่าตัดโดยทันที หากปล่อยให้มีอาการลำไส้ขาดเลือดนานๆ อาจทำให้ลำไส้เกิดเนื้อตายและเน่า จนเกิดภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้

 

โรคไส้เลื่อน วิธีป้องกันอย่างไร?

  1. ควบคุมร่างกายไม่ให้มีแรงดันภายในช่องท้องมากเกินไป โดยหยุดอาการไอและจามเรื้อรัง และไม่ออกแรงยกของหนักเกินกำลังอยู่บ่อยๆ

  2. ระมัดระวังไม่ออกกำลังกาย โดยทำให้ผนังช่องท้องด้านหน้าเกิดอาการบาดเจ็บอยู่บ่อยๆ

  3. หากเพิ่งผ่าตัด ควรงดการออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง

  4. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  5. รัปประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่เพิ่มกากใยอาหาร เพื่อลดอาการท้องผูก

  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องผูกบ่อย ปวดท้อง หรือพบก้อนเนื้อนูนผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook