ไวรัสตับอักเสบเอ อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ?

ไวรัสตับอักเสบเอ อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ?

ไวรัสตับอักเสบเอ อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไวรัสตับอักเสบบี น่าจะเป็นโรคที่หลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ที่พบบ่อยๆ น่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบชนิด “บี” มากกว่าชนิดอื่นๆ เพราะพบบ่อยกว่า แต่ไวรัสตับอักเสบ “เอ” ก็มีโอกาสพบได้ในหมู่คนไทยเช่นเดียวกัน ไวรัสตับอักเสบเอ เหมือนหรือแตกต่างจากชนิดบี หรือซีอย่างไร ติดต่อกันทางไหน และป้องกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

ก่อนอื่นมาดูความแตกต่างของไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ ก่อนเลยดีกว่า

 

ไวรัสตับอักเสบ คืออะไร?

โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ หรือติดเชื้อของตับ มีอาการเฉียบพลัน หรืออาจเป็นเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็งได้ บางคนมีเชื้อไวรัสในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค หรือเรียกว่าเป็นพาหะของโรคได้

 

ไวรัสตับอักเสบ มีกี่ชนิด?

จริงๆ แล้ว ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิดมาก แต่ที่พบได้บ่อยๆ จะมีไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และ อี

- ไวรัสตับอักเสบเอ

เป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายจากการดื่มน้ำ หรือทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือติดต่อผ่านทางน้ำลาย หรือปัสสาวะจากผู้ป่วย ระบาดได้ง่ายในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันอย่างแออัด หรือแชร์น้ำแชร์อาหารร่วมกัน เช่น บ้านเด็กอ่อน ค่ายทหาร เป็นต้น แต่การระบาดยังไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในประเทศไทย

 

- ไวรัสตับอักเสบบี

ร้อยละ 3 ของประชากรในแถบ AEC มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในตัว หรือเป็นพาหะนำโรค สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการป่วยอาจพัฒนากลายเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ โดยโรคนี้ติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่ง น้ำเหลือง  เลือด และทางเพศสัมพันธ์ (คล้ายเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์) เช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มสักที่ไม่สะอาด ใช้ของมีคมอื่นๆ ร่วมกัน

 

- ไวรัสตับอักเสบซี

พบมากรองลงมาจากชนิดบี มีวิธีติดต่อเหมือนกันกับชนิดบี และยังสามารถกลายเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังที่อาจเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในภายหลังเหมือนกัน แต่หากผมในระยะแรกๆ จะสามาระรักษาให้หายขาดได้

 

- ไวรัสตับอักเสบดี

ไวรัสตับอักเสบดี เป็นไวรัสที่แฝงมากับไวรัสตับอักเสบบี พบในยุโรปมากกว่าเอเชีย เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัยส่วนประกอบของไวรัสตับอักเสบบีในการแบ่งตัว ดังนั้การติดเชื้อชนิดดี จึงอาจมาพร้อม หรือหลังจากที่ได้รับเชื้อชนิดบีเข้าไปแล้ว

 

- ไวรัสตับอักเสบอี

เป็นชนิดที่ตรวจพบเจอในภายหลัง ผู้ป่วยจะแสดงอาการตับอักเสบเฉียบพลัน ตัวเหลืองตาเหลือง มีสาเหตุของการติดเชื้อมาจากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ด้วย

 

แล้วไวรัสตับอักเสบเอ อันตรายมากน้อยแค่ไหน?

ในเมื่อในประเทศไทยพบไวรัสตับอักเสบบี หรือซีมากกว่า แล้วชนิดเอจะอันตราย หรือพบได้บ่อยมากน้อยแค่ไหน อันที่จริงหากพูดถึงความรุนแรงของโรคแล้ว ไวรัสตับอักเสบเอ จะรุนแรงน้อยกว่าชนิดบี และซี และไม่ค่อยพบกรณีที่เสียชีวิต แต่ในรายที่มีอาการหนักมาก ตับอักเสบรุนแรงมาก ประกอบกับตับอาจสุขภาพไม่ค่อยดีอยู่แล้ว เช่น ดื่มแอลกอฮอล์จัด และไม่ได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็อาจอันตรายถึงตับวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อจากผู้ป่วย สู่ผู้ป่วยอีกคนหนึ่งได้ง่ายกว่าไวรัสตับอักเสบบี หรือซีที่ต้องผ่านเลือด น้ำเหลือง หรือเพศสัมพันธ์ เพราะไวรัสตับอักเสบเอติดต่อทางอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อ ติดต่อผ่านน้ำลาย ที่อาจเกิดจากการใช้ช้อน หรือแก้วน้ำร่วมกับผู้ป่วย ดังนั้นไวรัสตับอักเสบเอจึงอันตรายในแง่ของการแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว และยากต่อการควบคุม

 virus-liver-1

ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อผ่านทางใดบ้าง?

- ใช้ช้อนส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้ป่วย หรือไม่ใช้ช้อนกลางในการตักอาหารทานร่วมกัน

- ไม่ล้างมืออย่างสะอาดหลังเข้าห้องน้ำ

- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย

- รับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

 

ใครที่มีความเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบเอ?

ผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุข ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับอยู่แล้ว ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาจากประเทศที่กำลังมีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบเอ ผผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือต้องแชร์น้ำอาหารร่วมกันกับคนหมู่มาก ผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด รวมถึงชายรักชาย และผู้ที่เป็นโรคที่ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดบ่อยๆ

 

ไวรัสตับอักเสบเอ มีอาการอย่างไร?

- มีไข้ อ่อนเพลีย

- เบื่ออาหาร

- คลื่นไส้อาเจียน

- ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด

- ท้องร่วง ท้องเสีย

- ตาเหลือง ตัวเหลือง

 

ไวรัสตับอักเสบเอ มีวิธีป้องกันอย่างไร?

  1. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทานอาหาร

  2. ไม่ใช้อุปกรณ์ในการทานอาหาร หรือดื่มน้ำจากแก้วร่วมกับผู้อื่น

  3. ทานอาหารที่สด สะอาด ถูกหลักอนามัยอยู่เสมอ

  4. ฉีดวัคซีนป้องกนโรคไวรัสตับอักเสบเอ อาจรับพร้อมกันกับวัคซีนโรคอื่นๆ ได้พร้อมกัน เช่น ไวรัสตับอักเสบบี บาดทะยัก คอตีบ ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น

 

แม้ว่าในสังคมไทย ในหมู่เพื่อน อาจมีการทานอาหารร่วมกัน ดื่มน้ำจากแก้วเดียวกันอยู่บ้าง หากแต่การป้องกันตัวเองจากการหลีกเลี่ยงใช้ภาชนะร่วมกัน ไม่ได้หมายความว่ากำลังแสดงท่าทางรังเกียจผู้อื่น หรืออะไรทำนองนั้นทั้งสิ้น ดังนั้นอยากให้มองว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่สาเหตุ เพื่ออนาคตของชีวิตเราและครอบครัวจะดีกว่าค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook