ทิ้งไม่ลง! สัญญาณเตือนโรคจิต “ชอบเก็บสะสมของ”

ทิ้งไม่ลง! สัญญาณเตือนโรคจิต “ชอบเก็บสะสมของ”

ทิ้งไม่ลง! สัญญาณเตือนโรคจิต “ชอบเก็บสะสมของ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุยกับเพื่อนแล้วเพื่อนบอกว่า ทะเลาะกับผู้ใหญ่ที่บ้าน เพราะไม่ยอมเก็บของทิ้งเลย เก็บอะไรไม่รู้รกบ้านเต็มไปหมด ต้องแอบเอาออกไปทิ้งเวลาเขาไม่อยู่ ทำให้นึกถึงเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ทะเลาะกับพ่อเพราะพ่อชอบเก็บของไว้ในห้องจนรกไปหมดอีกเช่นกัน แสดงว่ามีคนที่ชอบเก็บของจนรกบ้านอยู่มากมายในสังคมไทยเหมือนกันนะ

แล้วที่น่ากลัวก็คือ อาการแบบนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงเป็นโรคจิตประเภทหนึ่งด้วยนะ เราเรียกว่า “โรคเก็บสะสมของ”

 

โรคเก็บสะสมของ คืออะไร?

โรคเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder เป็นโรคจิตประเภทหนึ่งที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวทเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมานี้เอง จริงๆ แล้วยังไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่มักรู้จักกันในชื่อ “โรคเก็บสะสมของ”

จากการศึกษาในต่างประเทศ โรคเก็บสะสมของ พบได้บ่อยราว 2-5% ในกลุ่มบุคคลปกติทั่วไป และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนโสด โดยอาจเริ่มมีอาการมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยวัยรุ่น จนถึงเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน

 

โรคเก็บสะสมของ มีอาการอย่างไร?

  1. เก็บของเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของที่มีประโยชน์ หรือดูไม่ค่อยมีประโยชน์ก็ตาม

  2. ตัดใจทิ้งของชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่เก็บเอาไว้ไม่ได้ ทำใจลำบาก โดยมักมีเหตุผลอ้างว่า “เดี๋ยวก็ได้ใช้” หรือ “อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้ขึ้นมาในอนาคต” ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ใช้จริง

  3. สะสมของเอาไว้มากจนเกินไป จนเริ่มรบกวนชีวิตของตนเอง รวมถึงคนที่อาศัยร่วมด้วย หรืออยู่ใกล้ๆ เช่น เก็บของมากมายจนเกลื่อนพื้นห้องจนแทบเดินไม่ได้ หรือสุมของเอาไว้เต็มโต๊ะทำงานจนลามไปถึงโต๊ะคนข้างๆ และแทบไม่มีพื้นที่ให้ทำงาน

 

ตัวอย่างของที่สะสมเอาไว้ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของ

หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก กล่อง ขวดต่างๆ ฯลฯ จริงๆ แล้วเป็นของชิ้นใดก็ได้ แต่จะเป็นการเก็บที่มากเกินไป มากเกินความจำเป็น

 

ความแตกต่างระหว่างคนปกติ กับผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของ

หลายคนอาจชอบเก็บสะสมของบางชิ้นเหมือนกัน เช่น เก็บกล่องคุกกี้ลายน่ารักๆ ที่ซื้อมา หรือเก็บหนังสือ นิตยสารที่ชอบ แต่ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างคนปกติ กับผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของ คือ คนปกติจะเก็บของที่ตัวเองชอบเอาไว้จำนวนหนึ่ง ไม่มากจนเกินไป และเก็บอย่างเป็นที่เป็นทาง เช่น เรียงหนังสือเอาไว้ในชั้นหนังสือ เก็บกล่องเอาไว้ใต้เตียง หรือพับถุงกระดาษเก็บไว้ในตู้

แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของ จะเก็บของเอาไว้มากจนส่งผลกระทบในทางลบกับตัวเอง เช่น เก็บจนไม่มีที่เดินในบ้าน เก็บจนฝุ่นเต็มบ้านจนมีอาการป่วยติดเชื้อ เป็นภูมิแพ้ เก็บหนังสือกองเหนือหัวจนหนังสือร่วงหล่นทับ หรือเก็บจนล้นกองเต็มบ้านโดยไม่สามารถจัดให้เป็นที่เป็นทางอย่างเรียบร้อยได้อีกต่อไป

 

โรคเก็บสะสมของ มีสาเหตุมาจากอะไร?

เนื่องจากยังเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่ จึงมีข้อมูลศึกษาน้อยมากหากเทียบกับข้อมูลของโรคจิตเวชอื่นๆ แต่จากการศึกษาเท่าที่ผ่านมาพบว่า 80% เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ผ่านพันธุกรรม โดยผู้ป่วยมีญาติสายเลือดตรงที่มีอาการในลักษณะเดียวกัน บางรายเป็นกลไกทางจิตที่ชดเชยจากการวิตกกังวล เก็บของไว้เยอะๆ รู้สึกอุ่นใจ

นอกจากนี้ประสาทสมองบางส่วนทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยสมองในเรื่องของการคิด และตัดสินใจ จึงทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการตัดใจที่จะทิ้งของบางอย่าง

ผู้ป่วยโรคเก็บสะสมของที่พบในวัยผู้ใหญ่แล้ว อาจเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคทางสมองอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น โรคสมองเสื่อม เป็นต้น

แต่โดยรวมแล้วยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าโรคเก็บสะสมของ เกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่

 

โรคเก็บสะสมของ มีวิธีรักษาอย่างไร?

แพทย์อาจพิจารณาความหนักเบาของอาการก่อน จากนั้นอาจจะพิจารณาวิธีการรักษาโดยใช้ยาที่อยู่ในกลุ่มของยาต้านอาการซึมเศร้า และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสอนให้จัดใจทิ้งของที่ไม่จำเป็น และเก็บของ จัดกลุ่มของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หยิบใช้ได้ง่าย ผู้ป่วยจะถูกฝึกให้มีความอดทนในการตัดใจทิ้งของที่ไม่จำเป็นเรื่อยๆ อาจเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี แล้วแต่กรณี

 

แต่เรื่องที่น่าตกใจคือ ผู้ป่วยหลายรายที่มีคนเข้าไปช่วยเหลือ จัดเก็บบ้านให้เป็นที่เป็นทาง ผ่ายไปสักระยะหนึ่ง ผู้ป่วยยังมีโอกาสกลับมาสะสมของได้ใหม่เรื่อยๆ อีกเช่นกัน ดังนั้นคนที่อยู่ข้างกายผู้ป่วยอาจจะต้องคอยกระตุ้น คอยฝึกให้ผู้ป่วยแยกแยะสิ่งของจำเป็น หรือไม่จำเป็นให้ชัดเจนไป และอย่าปล่อยให้บ้านกลับมารกเหมือนเดิม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook