จริงหรือไม่? ยิ่งเครียด ยิ่งมีผมหงอก?

จริงหรือไม่? ยิ่งเครียด ยิ่งมีผมหงอก?

จริงหรือไม่? ยิ่งเครียด ยิ่งมีผมหงอก?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเครียด เป็นตัวทำร้ายสุภาพในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของผิวพรรณที่ไม่ผ่องใส จิตใจหดหู่ ปวดศีรษะ กระเพาะอาหารกำเริบ หรือแม้กระทั่งเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคหัวใจแย่ลง แต่ที่กล่าวกันต่อๆ มาว่า ผมหงอกเยอะแบบนี้ แสดงว่าเป็นคนที่มีความเครียด เรื่องนี้จริงหรือไม่อย่างไร Sanook! Health มีข้อมูลจากรายการ Happy and Healthy มาฝากค่ะ

 

 

เครียดจนหัวหงอก?

เคยได้ยินเรื่องราวของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อดีตพระราชินีฝรั่งเศสกันไหมคะ ผมของเธอเปลี่ยนเป็นสีขาวทั่งทั้งศีรษะเพียงชั่วข้ามคืน ก่อนที่เธอจะถูกประหารด้วยเครื่องกิโยติน หรือในนิยายกำลังภายในชื่อดังอย่างเรื่อง มังกรหยก ขณะที่เอี้ยก้วย รอพบเซียวเหล่งนึ่งมาเป็นเวลายาวนานถึง 16 ปี ในคืนหนึ่งเมื่อทั้งสองไม่ได้พบกันอย่างหวัง เอี้ยก้วยก็มีผมหงอกขึ้นมา

จริงๆ แล้ว ความเชื่อที่ว่า เครียดมากๆ ทำให้ผมหงอกนั้น ยังไม่มีผลงานการวิจัยทางการแพทย์ใดๆ มายืนยันอย่างเปนทางการ

 

ผมหงอก เกิดจากอะไร?

ปกติแล้วผมหงอกเส้นแรกของเรามักมาในช่วงอายุ 30 ปีสำหรับคุณผู้ชาย และในวัย 35 ปีสำหรับคุณผู้หญิง ในขณะที่บาคนอาจจะเริ่มมีผมหงอก ผมขาวตั้งแต่ช่วงเรียนมัธยม หรือบางคนอาจเพิ่งเริ่มมีผมขาวตอนอายุ 50 ปีไปแล้ว

กระบวนการหงอกของเส้นผม เริ่มจากรูขุมขนที่มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำตาบนหนังศีรษะที่เรียกว่า ฟอลลิเคิล (Follicles) ปกติบนศีรษะของคนเราจะมีหลุมฟอลลิเคิลอยู่ประมาณ 100,000 หลุม ในแต่ละหลุมจะผลิตเส้นผมหลายเส้นในหนึ่งช่วงอายุ

ภายในฟอลลิเคิลเหล่านี้จะมีเซลล์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยกันสร้างเส้นผม แต่จะมีเซลล์สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ เซลล์ที่สร้างเส้นผม (Keratinocyte) กับเซลล์ที่สร้างเม็ดสี หรือเมลานิน (Melanocytes)

เม็ดสีผมของคนเราจะมีด้วยกันทั้งหมด 2 เฉดสี หลักๆ จะแบ่งเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ และสีเหลืองแดง ซึ่งอัตราส่วนในการผสมของเม็ดสีเหล่านั้น จะแตกต่างกัน ทำให้คนเราแต่ละคนมีสีผมที่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวไว้ว่า กระบวนการเปลี่ยนสีของเส้นผมจากสีดำเป็นสีขาวนั้น เกิดจากเม็ดสีถูกทำลายจากฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด และฮอร์โมนตัวนี้ยังเข้าไปขัดขวางการขนส่งของเซลล์เม็ดสี หรือเมลานิน ไปยังเส้นผมโดยตรงด้วย แต่งานวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการ

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงเทพ ระบุไว้ว่า กระบวนการหงอกของเส้นผม น่าจะเป็นไปตามกรรมพันธุ์ และลักษณะการใช้ชีวิตของแต่ละคน ทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถยืดเวลาการหงอก หรือเพิ่มความเร็วของการหงอกได้ 5-10 ปีเลยทีเดียว

 

ไม่ว่าผมหงอกนั้นจะมาจากความเครียดหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่ากับ ความเครียดเป็นอันตรายต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน รวมไปถึงสภาพจิตใจด้วย ดังนั้นเราอย่าเครียดกันเลยดีกว่าค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook