อย. เตือน! ชาสมุนไพร ไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้

อย. เตือน! ชาสมุนไพร ไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้

อย. เตือน! ชาสมุนไพร ไม่ใช่ยา รักษาโรคไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร ที่อ้างว่าใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน อย. มีความห่วงใย ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค เนื่องจาก ชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แนะผู้บริโภคเลือกซื้อชา สมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชา สมุนไพรที่ฉลากระบุเครื่องหมาย อย. พร้อมเลขทะเบียนในกรอบ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข่าวในสื่อ เกี่ยวกับชาสมุนไพร โฆษณาอ้างสรรพคุณว่าสามารถบรรเทาอาการของ โรคสะเก็ดเงินได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ คำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรค ได้ เนื่องจากชาสมุนไพร จัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา จึง ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคชาสมุนไพร จัดเป็นอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งกำหนดไว้ว่า สถานที่ผลิตหรือนำเข้า ต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ใน การผลิตและเก็บรักษาอาหารในส่วนของผลิตภัณฑ์ จะต้องผลิตจากส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ระบุไว้ใน บัญชีแนบท้ายประกาศฯ เรื่อง ชาสมุนไพร หรือตามรายชื่อที่ อย. ประกาศเพิ่มเติมเท่านั้น และ อนุญาตให้นำพืชสมุนไพรมาผ่านกรรมวิธีอย่างง่าย เฉพาะการทำแห้งและลดขนาดให้เล็กลงด้วยการ ตัด สับ หรือบดเท่านั้น เพื่อจุดมุ่งหมายในการบริโภคโดยการต้มหรือชงกับน้ำเท่านั้น ต้องไม่มี จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารปนเปื้อน หรือสารพิษชนิดอื่นในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่มียาแผนปัจจุบันหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อ จิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ การแสดงฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ เลขสารบบอาหาร (อย.) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ/นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่ สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือ วันเดือนปีที่อาหารยังมีคุณภาพ ข้อมูล สำหรับผู้แพ้อาหาร เป็นต้น และการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ถ้าเผยแพร่เฉพาะท้องถิ่นหรือจังหวัด สามารถ ยื่นขออนุญาตได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่หากเป็นการเผยแพร่ทั่วประเทศ จำเป็นต้องขอ อนุญาตต่อ อย. และต้องไม่มีการอ้างสรรพคุณในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค และไม่ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือหลอกลวงผู้บริโภค สำหรับโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ การรักษาจึงต้องมีการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ชาสมุนไพรไม่ สามารถช่วยให้หายจากโรคได้รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ด้วย การ อ่านฉลากอาหาร ก่อนซื้อควรสังเกตวันที่ผลิต วันที่ควรบริโภคก่อน สภาพภายนอกของ บรรจุภัณฑ์ต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และอย่า หลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถให้ผลในการบำบัด บรรเทารักษาหรือป้องกันโรค หากผู้บริโภคพบ เห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมา ได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป

******* กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 18 มิถุนายน 2558 ข่าวแจก 76 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2590 7117 , 7123โทรสาร 0 2591 8474 http://www.fda.moph.go.th

แหล่งข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook