10 ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานแฝง รีบตรวจก่อนแสดงอาการ

10 ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานแฝง รีบตรวจก่อนแสดงอาการ

10 ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานแฝง รีบตรวจก่อนแสดงอาการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน รู้อีกทีก็ตอนมีอาการหนัก จนอาจะเป็นเบาหวานระยะรุนแรงไปแล้ว แต่หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงตามด้านล่างเกิน 3 ข้อ เราว่าถึงเวลาที่คุณต้องไปตรวจเบาหวานแล้วล่ะ

 

  1. อายุเกิน 45 ปี

อายุ 45 ปีถือวาเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอายุน้อย หรือมากกว่า 45 ปีจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของแต่ละบุคคลด้วย แต่อายุ 45 ปีเมื่อไร หากยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเบาหวาน ก็ควรไปเสียหน่อย

 

  1. น้ำหนักเกินมาตรฐาน

มาตรฐานอยู่ที่เท่าไร คำนวณได้ง่ายๆ จากค่า BMI โดยนำน้ำหนักหน่วยกิโลกรัม หารด้วยค่าของความสูงหน่วยเมตรยกกำลังสอง (คูณกันสองครั้ง) เราก็จะได้เป็นค่า BMI ออกมา

ต่ำกว่า 18.5 จัดว่าผอม

18.5-22.9 น้ำหนักปกติ

23-24.9 น้ำหนักเกิน

25-29.9 อ้วนระดับ 1

มากกว่าหรือเท่ากับ 30 อ้วนระดับ 2

ใครที่ได้ค่า BMI มากกว่า 23 จึงถือว่าอยู่ในภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

 

  1. มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน

หลายคนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคเบาหวานไม่ได้มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการทานอาหารของเราอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มจากกรรมพันธุ์ด้วย ดังนั้นหากพบพ่อแม่พี่น้อง หรือญาติๆ ของตัวเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เราก็ควรเข้ารับการตรวจด้วย

 

  1. มีความดันโลหิตสูง

หากใครเคยเข้ารับการตรวจร่างกาย แล้วนางพยาบาลเคยบอกว่า “คนไข้มีความดันค่อนข้างสูงนะคะ” นั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตสูง คือความดันที่มากกว่า 140/90 มม. ปรอทขึ้นไป ให้พยาบาลวัดให้ หรือจะซื้อเครื่องวัดความดันมาวัดที่บ้านก็ได้

 

  1. มีไขมันในเลือดสูง

ข้อนี้อาจจะต้องเป็นผู้ที่เคยเข้ารับการตรวจร่างกายด้วยการเจาะเลือดมาแล้ว หากมีค่า HDL น้อยกว่า 35 มก./ดล. และ/หรือ มีค่าไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 250 มก./ดล. ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้

 running-exerciseistockphoto

  1. ขาดการออกกำลังกาย

หากรู้ตัวว่าแทบไม่ได้ออกกำลังกายเลย ตื่น ทำงาน/เรียน กลับบ้าน นอน ไม่มีกิจกรรมใดๆ หรือไม่ได้หาเวลาออกกำลังกายมานานร่วมเดือน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เสี่ยงภาวะอ้วน จนเสี่ยงเป็นเบาหวานด้วยอีกต่อหนึ่ง

 

  1. เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณผู้หญิง ขณะที่ตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาหลายชนิด ทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จนกลายเป็นเบาหวานได้ แต่หลังคลอด ระดับน้ำตาลมักกลับสู่ภาวะปกติ หากเคยประวัติแบบนี้ ก็อาจเสี่ยงเป็นเบาหวานหลังคลอดได้เช่นกัน

 

  1. เป็นโรคอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน

เช่น เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มักพบในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หรือผลข้างเคียงจากการรับยาสเตียรอยด์ หรือยาอื่นๆ

 

  1. มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแข็ง หรือตีบ

โรคหลอดเลือดแข็ง หรือตีบ เป็นโรคที่เกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง ที่เข้าไปอุดตันจนทำให้การลำเลียงเลือดไม่สะดวก หลอดเลือดเลยแข็ง หรือตีบ และอาจส่งผลต่อไปถึงภาวะที่อวัยวะบางส่วนขาดเลือดได้ โดยโรคนี้อาจเป็นก่อน หลัง หรือเป็นระหว่างที่เป็นโรคเบาหวานด้วยก็ได้

 

  1. เคยตรวจพบว่ามีภาวะเบาหวานแฝง

ข้อสุดท้ายสำหรับผู้ที่เคยตรวจสุขภาพ แล้วแพทย์แจ้งว่ามีภาวะที่จะเป็นโรคเบาหวาน แต่ในขณะนั้นคุณอาจไม่ให้ความสำคัญกับคำเตือนของแพทย์ เพราะยังไม่เห็นว่าร่างกายจะมีความผิดปกติอะไร แต่การตรวจพบภาวะเบาหวานแฝง เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ และชัดเจนที่สุด ว่าคุณมีความเสี่ยงมากที่จะเป็นเบาหวานจริงๆ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด

 

วิธีปรับพฤติกรรมให้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานน้อยที่สุด ก็ง่ายๆ แค่ปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ลดแป้งลดน้ำตาล ลดน้ำหนักไม่ให้อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจเบาหวานทุกๆ 3-6 เดือน เท่านี้ก็อุ่นใจได้มากแล้วล่ะค่ะ ขอให้ไม่เป็นเบาหวานกันนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook