มนุษย์เฮลตี้ต้องรู้ กินผักต่อวันเท่าไหร่ถึงจะพอ

มนุษย์เฮลตี้ต้องรู้ กินผักต่อวันเท่าไหร่ถึงจะพอ

มนุษย์เฮลตี้ต้องรู้ กินผักต่อวันเท่าไหร่ถึงจะพอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     แค่แตงกวา, มะเขือเทศ, ผักชี หรือสลัดผักกระจุกเล็กๆ ที่วางประดับอยู่ข้างจานอาหารในแต่ละมื้อนั้น ร่างกายอาจจะยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะนอกจากเราจะต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ทางที่ดี เราก็ควรกินผักให้ครบ 5 สีด้วย แต่เรารู้ดีว่า “มนุษย์เฮลท์ตี้บ้าง อันเฮลท์ตี้บ้าง” อาจจะต้องหน้านิ่วคิ้วขมวดเล็กน้อย เพราะตามลำพังแค่ให้กินผักก็ลำบากแล้ว

     แล้วจำเป็นแค่ไหนกันที่ต้องกินผักให้ครบ 5 สี?

     คำตอบก็คือเราไม่จำเป็นต้องซีเรียสถึงขั้นนั้น แค่กินให้ครบหมู่ก็ดีมากแล้ว แต่ “ถ้าทำได้ก็ดี” เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่าผักผลไม้แต่ละชนิดให้คุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป ถ้ากินครบถ้วนได้ในทุกวันก็จะเลิศมาก และเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนหันมากินผักกันมากขึ้น วันนี้ Sanook! เลยจะมาบอกถึงประโยชน์ของผักผลไม้แต่ละสีให้ฟังกัน

     ผักผลไม้สีเขียว

     สำหรับผักผลไม้สีเขียว โดยเฉพาะ “ผักใบเขียว” นั้น จะมีเม็ดสีของสารที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งประโยชน์ของคลอโรฟิลล์นั้น จะช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด ที่สำคัญยังช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น ลดอาการท้องผูกได้นั่นเอง ทุกคนคงรู้ดีว่าถ้าระบบขับถ่ายแย่ ทุกอย่างก็จะแย่ตาม ดังนั้น ในแต่ละวันผักใบเขียวนี่ขาดไม่ได้เลย


     ผักผลไม้สีแดง

     นึกอะไรไม่ออกก็ให้นึกถึง “มะเขือเทศ” ไว้ก่อน ผลไม้สีแดงตัวแทนแห่งสารประกอบที่ชื่อว่า “ไลโคปีน” (Lycopene) ที่ผักผลไม้สีแดงอื่นๆ ก็มีเช่นกัน ซึ่งไลโคปีนเองก็มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ รวมไปถึงยังช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ชะลอการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ และสาวๆ คงรู้กันดีว่าผักผลไม้ในกลุ่มนี้จะช่วยเรื่องผิวพรรณด้วย ถ้าอยากผิวสวย พลาดไม่ได้เลย


     สีส้มหรือเหลือง

     สำหรับผักและผลไม้ที่มีสีส้มจะมีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาความชุ่มชื่นให้ผิว ลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วย ส่วนใหญ่สารเบต้าแคโรทีนจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีส้มหรือสีเหลือง ได้แก่ แครอท มะละกอ ฟักทอง เป็นต้น


     ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน

     ผักผลไม้ในกลุ่มนี้จะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เช่นกัน ทั้งยังลดอาการอักเสบ ปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันมะเร็งหลายชนิด และยังช่วยป้องกันการท้องเสียได้อีกด้วย ซึ่งผักสีน้ำเงิน/สีม่วงที่มีแอนโทไซยานินสูง ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง หอมหัวใหญ่สีม่วง บีทรูท มะเขือม่วง ฯลฯ ซึ่งหากินได้ไม่ยากเลย


     ผักผลไม้สีขาว/สีน้ำตาลอ่อน

     กลุ่มสุดท้าย ผักผลไม้สีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน จะมีสารแอนริซิน ที่จะช่วยสร้างเซลล์ให้แข็งแรง ยับยั้งการเกิดเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ลดปริมาณไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน และรักษาระบบภูมิคุ้มกัน สามารถเพิ่มสารแอนริซินให้ร่างกายด้วยการกินกระเทียม หัวไชเท้า ถั่วเหลืองทุกชนิด ลูกเดือย ขิง ข่า ต้นหอมญี่ปุ่น เฟนเนล งาขาว ฯลฯ

     รู้แบบนี้แล้ว ยังจะมองว่ากินผักให้ครบ 5 สี ยังเป็นเรื่องไม่จำเป็นอยู่หรือเปล่า? แต่ในที่นี้ เราคงไม่เถียงหรอกว่าด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ก็ยากที่จะสรรหาผักให้ครบทั้ง 5 สีมากินในแต่ละวัน พูดง่ายๆ ก็คือน้อยคนที่จะดูแลสุขภาพได้เต็มที่ 100% แต่ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร่างกายพังเกินเยียวยา ก็ต้องมีตัวช่วยกันสักหน่อย


    อย่าง Bioveggie "ผักอัดเม็ด 5 สี" ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจาก Bioveggie โดยใช้ผักสดจากมูลนิธิโครงการหลวง ด้วยวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย ตัวช่วยเติมสารอาหารจากผักให้แก่ร่างกาย เพียงแค่กินวันละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าหรือก่อนนอน และดื่มน้ำตามพอสมควร ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสารอาหารที่เราได้รับจะไม่ครบถ้วนเท่าการกินผักหรือผลไม้สดๆ แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราได้รับสารอาหารมากขึ้นนั่นเอง


    นอกจากนี้ อาจจะต้องปรับพฤติกรรมการกินของเราร่วมด้วย เช่น จากที่กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ก็กินให้ครบ, จากไม่เคยกินผักเลย ก็ต้องกินให้มากขึ้น, จากที่กินผักอยู่แล้ว ก็กินให้หลากสีมากขึ้น หรือถ้าไม่มีเวลาจริงๆ ก็ลองใช้ตัวช่วยอย่างอาหารเสริม ที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพดี สตรองเสมอต้นเสมอปลาย แถมยังเสี่ยงต่อโรคภัยน้อยลงอีกต่างหาก

     ข้อมูล: www.thaihealth.or.th www.pharmacy.mahidol.ac.th

 


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook