วิ่งมาก เข่าอาจเสื่อมเร็ว จริงหรือ?

วิ่งมาก เข่าอาจเสื่อมเร็ว จริงหรือ?

วิ่งมาก เข่าอาจเสื่อมเร็ว จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวกนักวิ่งต้องหันควับ เมื่อมีความเชื่อหลุดออกมาตามโซเชียลว่า การวิ่งที่ควรจะส่งผลดีต่อร่างกายนั้น จริงๆ แล้วอาจเป็นสาเหตุของโรขข้อเข่าเสื่อมได้ในภายหลัง ความจริงเป็นเช่นไร แล้วเราจะต้องวิ่งอย่างไรถึงจะถนอมขาถนอมเข่า มาดูคำตอบกันค่ะ

 

วิ่งเร็ว วิ่งช้า เดินเร็ว เดินช้า

น้ำหนักของขาที่เราส่งแรงไปที่เท้า แล้วกระแทกกับพื้นขณะที่เรากำลังวิ่งเร็วเต็มสปีด จะใช้แรงกระแทกจากขาลงพื้นมากกว่าการวิ่งช้า (จ๊อกกิ้ง) เดินเร็ว หรือเดินตามปกติ โดยแรงกระแทกจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ดังนั้นจึงคิดได้ว่า การที่กระดูกขาต้องรับแรงกระแทกทุกวันๆ จากการวิ่งเร็ว อาจส่งผลให้ขามีอาการบาดเจ็บได้ โดยอาจจะเป็นในเรื่องของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ หรือกระดูก

 running-2iStockวิ่งเร็ว วิ่งช้า เดินเร็ว เดินช้า ให้ผลลัพธ์ต่างกันไหม

 

ไม่เคยวิ่งเลย แล้วเริ่มต้นด้วยการวิ่งเร็ว ยิ่งเสี่ยงบาดเจ็บ

หากคุณไม่เคยออกกำลังกายด้วยการวิ่งมาก่อน หรือเพิ่งเริ่มวิ่งได้ไม่นานนัก แต่เริ่มด้วยการวิ่งเร็วเต็มสปีดไปเลย ใช้แรงกระแทกหนัก หรือเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การใช้ขาวิ่งกระแทกพื้นแรงๆ เร็วๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ มากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ และคนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำ เพราะการวิ่งเร็วจะส้รางแรงกระแทกกับขาได้มากถึง 3 เท่าของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว

 

วิ่งอย่างไร ไม่ให้ข้อเข่าเสื่อม

หากสวมรองเท้าให้พอดี และวอล์มร่างกายอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะบาดเจ็บจากเส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้ออาจจะน้อยลง แต่ก็ยังไม่สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บตามข้อเข่าอยู่ดี วิธีแก้ไขง่ายๆ คือการฝึกเดินเร็วก่อนสัก 6-8 สัปดาห์ เพื่อปรับร่างกาย ปรับกล้ามเนื้อของขาให้คุ้นชินกับแรงกระแทกที่แรงขึ้นกว่าปกติ (มากกว่าเดินปกติ) โดยเริ่มซ้อมเดินเร็ววันละ 20-30 นาที ซ้อมอย่างน้อยวันเว้นวัน เพื่อให้ร่างกายคุ้นชินกับแรงกระแทกที่เพิ่มขึ้น ผ่านไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เพิ่มแรกกระแทก หรือเพิ่มความเร็วของการวิ่งทีละน้อย ราวๆ 5-10% เพิ่มขึ้นทีละสัปดาห์

 

การวิ่งอาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้จริง แต่หากคุณเตรียมความพร้อมให้ดีก่อนเริ่มต้นวิ่งจริงจัง ไม่ใจร้อน และเลือกความเร็วในการวิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง อาการข้อเข่าเสื่อม หรืออาการบาดเจ็บอื่นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นกับคุณอย่างแน่นอนค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook