9 พฤติกรรมเสี่ยง “โรคหัวใจ” ที่คุณหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ

9 พฤติกรรมเสี่ยง “โรคหัวใจ” ที่คุณหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ

9 พฤติกรรมเสี่ยง “โรคหัวใจ” ที่คุณหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นที่รู้กันดีว่าหน้าที่สำคัญของหัวใจคือการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นถ้าพูดง่ายๆ หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง หัวใจก็จะทำงานหนักขึ้นไปอีก อาจเกิดภาวะหัวใจวายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งการเสียชีวิตจากสาเหตุนี้แทบไม่มีใครรู้ตัวล่วงหน้าเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการป้องกันให้มากขึ้น

คนรู้จักหรือคนในครอบครัวของใครหลายๆ คนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และหลายคนมากโดยเฉพาะวัยรุ่น ที่แทบไม่ใส่ใจและไม่รู้ถึงความรุนแรงและความน่ากลัวของโรคนี้เลย เพราะจากสถิติ โรคหัวใจติด 1 ใน 3 ของโรคที่คร่าชีวิตคนมากที่สุด และก็มีท่าทีว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีเลยทีเดียว โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2557 มีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 58,681 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงโดยเฉพาะช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่หนุ่มๆ ควรหันมาสนใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น

 

วันหัวใจโลก (World Heart Day)

วันที่ 29 กันยายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพราะอยากให้ทุกประเทศตระหนัก เร่งแก้ไขปัญหา และร่วมรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพราะเป็นสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  การศึกษาวิจัยจากทั่วโลกบอกว่า พันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคนมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีโรคทั้ง 4 ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และความอ้วน ที่เป็นตัวเร่งสำคัญด้วย เพราะโรคเหล่านี้มีผลต่อหลอดเลือดในแบบต่างๆ เช่น ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว หรือหลอดเลือดตีบตันแคบ

 

พฤติกรรมแบบไหนบ้างที่จัดว่าเสี่ยงให้เกิด “โรคหัวใจ”?

ทนพ. กัญจนา สาเอี่ยม กล่าวว่า ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจมีทั้งแบบควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้

- พันธุกรรมจากพ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย มีประวัติเคยเป็นโรคนี้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้

- การทานอาหารเยอะเกิน ทำให้น้ำหนักตัวเยอะเกินไป 

- การทานอาหารรสหวาน มัน หรือเค็มเกินไป

- ทานผักผลไม้น้อย

- เครียดจากการทำงาน

- พักผ่อนไม่เพียงพอ

- ไม่ออกกำลังกาย

- สูบบุหรี่

- ดื่มเหล้า

- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

heart-disease-2iStock 

สัญญาณที่บอกว่า “โรคหัวใจ” จะเกิดขึ้นแล้ว

อาการที่สังเกตได้ง่ายๆ คือเหนื่อยง่าย แน่นและเจ็บหน้าอก หอบ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ ขาบวม เป็นลม วูบ และท้ายที่สุดคือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 

สุขภาพดี ทำได้ทุกที่ มีได้ทุกวัน

โรคหัวใจเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคนี้กันแบบจริงจังเสียที เพราะยังไงการป้องกันก็ดีกว่าแก้แน่ๆ เริ่มตั้งแต่วิธีป้องกันง่ายๆ โดยการออกกำลังกาย ลดดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกันเลยดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook