“หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” อายุแค่ 35 ปี ก็มีความเสี่ยง

“หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” อายุแค่ 35 ปี ก็มีความเสี่ยง

“หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” อายุแค่ 35 ปี ก็มีความเสี่ยง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครจะไปคิดว่าอายุเพียง 35 ปี ที่เพิ่งจะเริ่มเข้าวัยทำงานอย่างเต็มตัว หลายคนมีหน้าที่การงานที่ดี และมั่นคงมากยิ่งขึ้น แถมยังมีครอบครัว มีเจ้าตัวเล็กที่เพิ่งจะได้ดูแลกันมาไม่กี่ปี แต่กลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และเสียชีวิตฉับพลันได้เหมือนกัน

คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจเฉลี่ยปีละ 54,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และส่วนมากผู้ป่วยไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจมาก่อน ดังนั้นภัยร้ายจากโรคหัวใจอาจมาเยือนคุณได้ทุกเมื่อ

 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เพราะไม่เคยได้รับการตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพของหัวใจโดยละเอียด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะอยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ไม่ว่าคุณจะออกกำลังกาย หรือทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้วก็ตาม

 

ใครที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

เพศชาย หรือเพศหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน และทานอาหารที่มีไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลสูงอยู่เป็นประจำ

 

สัญญาณอันตราย ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักๆ มากดทับ ปวดร้าวที่ไหล่ บริเวณแขนซ้าย หายใจลำบาก หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดทำกิจกรรมทุกอย่างที่ทำอยู่ แล้วบอกคนข้างตัวให้รีบพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

 

วิธีลดความเสี่ยงภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

นอกจากการควบคุมอาหาร ลดแป้ง น้ำตาล ไขมันเลว และเน้นผักผลไม้ ถั่ว ปลา อาหารรสชาติไม่จัดแล้ว ควรออกกำลังกายบ่อยๆ ราว 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะตรวจความแข็งแรงของหัวใจ และเส้นเลือดใกล้เคียงด้วย เพื่อป้องกันการเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook