นักวิจัยพบวิธีตรวจ "สารฟลูออไรด์" ในน้ำดื่ม เพื่อป้องกันอันตรายต่อกระดูก

นักวิจัยพบวิธีตรวจ "สารฟลูออไรด์" ในน้ำดื่ม เพื่อป้องกันอันตรายต่อกระดูก

นักวิจัยพบวิธีตรวจ "สารฟลูออไรด์" ในน้ำดื่ม เพื่อป้องกันอันตรายต่อกระดูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สารฟลูออไรด์มักถูกเติมลงไปในน้ำดื่ม เเละปริมาณสารฟลูออไรด์ระดับเล็กน้อยช่วยป้องกันฟันผุได้ เเต่หากได้รับมากเกินไปอาจทำให้เป็นพิษต่อกระดูก อาจทำให้เกิดโรคกระดูกเเข็งด้าน กระดูกพรุน กระดูกเป็นใย หรือลักษณะพิการบางอย่าง เช่น ขาโก่ง

ด็อกเตอร์ ไซม่อน ลิววิส (Dr. Simon Lewis) ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยบาธ ในอังกฤษ กล่าวว่ากระดูกถูกทำลายโดยสารฟลูออไรด์ เเละเมื่อเด็กๆ ดื่มน้ำที่มีสารนี้มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน สารฟลูออไรด์จะสะสมในกระดูกมากเกินไป เเละเกิดพิษต่อกระดูก 

ระดับสารฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในน้ำดื่มตามธรรมชาติในเมืองโอล์ดอนโย แซมบู (Oldonyo Sambu) ของประเทศเเทนซาเนีย สูงกว่าระดับเเนะนำในสหรัฐฯ ถึง 60 เท่าตัว ทำให้ทั้้งเด็กเเละผู้ใหญ่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ เพราะเกิดการสั่งสมของสารนี้ในกระดูกมากเกินไป จนทำให้เกิดโรคกระดูกแบบต่างๆ เช่น ขาโก่ง

เเละเกิดความเจ็บปวดในกระดูกเรื้อรัง รวมทั้งทำให้ความสามารถทางความคิดอ่านในเด็กลดลง

เรย์มอนด์ ไลรุมบี (Raymond Lairumbe) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเเห่งเมืองโอล์ดอนโย แซมบู ประเทศเเทนซาเนีย กล่าวว่า ผลกระทบของสารฟลูออไรด์ยังมีต่อสมองของเด็กด้วย เขากล่าวว่า มีเด็กในพื้นที่ที่ขนาดศีรษะโตกว่าปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นความบกพร่องและกระทบต่อความสามารถทางความคิดอ่านของเด็กด้วย

ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบาธ ในอังกฤษ ยังได้พัฒนาโมเลกุลตัวหนึ่งที่เมื่อนำไปใส่ในน้ำ จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีน้ำเงินภายในไม่กี่นาที หากมีสารฟลูออไรด์ในน้ำปริมาณสูงมากเกินไป

ด็อกเตอร์ไซม่อน ลิววิส ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยบาธ กล่าวว่า วิธีการทดสอบนี้ไม่ต้องพึ่งพาห้องเเล็บ ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษใดๆ ผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องได้รับการอบรมในการใช้อุปกรณ์ใดๆ และไม่ต้องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ ผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องรู้หนังสือก็ทำได้

ทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบาธหวังว่า การทดสอบหาสารฟลูออไรด์อย่างง่ายที่ทีมงานพัฒนาขึ้นนี้ จะช่วยป้องกันเด็กๆ ไม่ให้เกิดความพิการจากโรคกระดูกนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook