7 พฤติกรรมเสี่ยง ท้องร่วง-อาเจียน-อาหารเป็นพิษ

7 พฤติกรรมเสี่ยง ท้องร่วง-อาเจียน-อาหารเป็นพิษ

7 พฤติกรรมเสี่ยง ท้องร่วง-อาเจียน-อาหารเป็นพิษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ จะต้องเคยท้องเสียจนหมายแรง หรืออาเจียนจนไม่มีจะออกมาอีกแล้วกันบ้างไม่มากก็น้อย เข้าใจดีว่าเป็นอาการที่ทรมาน และไม่มีใครคิดอยากจะเป็นอีก แต่แล้วในที่สุดก็มีครั้งที่สอง ครั้งที่สามตามมาจนได้ ทั้งๆ ที่พยายามระมัดระวังเรื่องอาหารการกินแล้ว แต่ก็ยังไม่วายต้องวิ่งเข้าห้องน้ำเป็นว่าเล่นอีกเช่นเคย ที่น่าสงสัยยิ่งกว่านั้นคือ ทานอาหารร่วมกันหลายๆ คน ทานเหมือนกันทุกอย่าง แต่ทำไมมีเราคนเดียวที่ท้องเสีย?

ใครที่สงสัยว่าเราไปทานอะไร ทำไมถึงท้องเสีย อาเจียน หรือมีอาการของโรคอาหารเป็นพิษ มาสังเกตพฤติกรรมของเรากันดีกว่าว่าพลาดอะไรตรงไหนไปหรือเปล่า

 

7 พฤติกรรมเสี่ยง ท้องร่วง-อาเจียน-อาหารเป็นพิษ

  1. ทานอาหารทะเลดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ

ความเสี่ยง อาจพบพยาธิ และเชื้ออีโคไล ที่ทำให้ท้องร่วง ปวดมวนท้อง หรืออาเจียน จะมีอาการหลังจากทานอาหารที่ติดเชื้อภภายใน 1-10 วัน

 

  1. ทานอาหารที่ไม่สะอาด เช่น เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ที่ทำความสะอาดไม่ดีพอ

ความเสี่ยง อาจพบเชื้ออิโคไลจากสารตกค้างจากปุ๋ยคอก ที่เป็นมูลของสัตว์ที่ติดเชื้อ จะมีอาการหลังจากทานอาหารที่ติดเชื้อภายใน 1-10 วัน

 

  1. ทานเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์จากนม

ความเสี่ยง อาจเสี่ยงเชื้อซาลโมเนลลา ที่ทำให้ท้องเสีย ถ่ายมีมูก คลื่นไส้อาเจียน จะมีอาการหลังจากทานอาหารที่ติดเชื้อภายใน 4-7 วัน

 

  1. ทานอาหารกระป๋อง เช่น หน่อไม้ดอง หน่อไม้ปิ๊บ ผักกาดดอง และเนื้อสัตว์แปรรูป

ความเสี่ยง อาจเสี่ยงคลอสติเดียม โบทูลินัม ที่เจริญเติบโตได้ดีในภาชนะที่ปิดสนิท และมีออกซิเจนน้อย สารพิษชนิดนี้อาจทำให้ท้องร่วง อาเจียน ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้

 

  1. ทานอาหารสดที่ไม่ผ่านความร้อนทุกชนิด ย้ำ ทุกชนิด

ความเสี่ยง นอกจากทุกเชื้อโรคที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเชื้อชิเกลล่า ที่ปนเปื้อนในอาหารสดที่สัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อโดยตรง เพราะเชื้อชนิดนี้สามารถกระจายจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งได้ โดยหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการอาเจียน และและปวดมวนท้องหลังจากทางอาหารที่ติดเชื้อเข้าไปภายใน 7 วัน

 

  1. น้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ

ความเสี่ยง ไวรัสหลายชนิด ทั้งชิเกลล่า ไวรัสโนโร ที่จะมีอาการปวดมวนท้อง ท้องเสีย ภายใน 1-2 วัน รวมไปถึงเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ที่สามารถติดต่อด้วยการได้รับเชื้อจากอาหารสดที่สัมผัสกับบุคคลที่มีเชื้อโดยตรง ภายใน 2-3 สัปดาห์

 

  1. หยิบจับอาหารด้วยมือเปล่า ที่ไม่ได้ทำความสะอาดก่อนหยิบอาหารเข้าปาก

ความเสี่ยง เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียทุกชนิด ที่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ผ่านอาหารสดที่สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้ออีกคน หรืออาหารที่พบการปนเปื้อนของมูลสัตว์ต่างๆ

 

ดังนั้น หากอยากหลีกเลี่ยงอาการอาหารเป็นพิษ ควรเลือกทานอาหารที่สะอาด ทำความสะอาดให้ดี ปรุงให้สุกด้วยความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ลดการทานอาหารที่เป็นของหมักดอง และล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหารทุกครั้ง โดยเฉพาะอาหารที่ต้องใช้มือเปล่าจับ รวมไปถึงการเลือกทานอาหารจากร้านที่คำนึงถึงเรื่องความสะอาดมาเป็นอันดับต้นๆ อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook