เช็กเลย! เพศ-อายุ-ความเสี่ยงของคุณ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งอะไรบ้าง

เช็กเลย! เพศ-อายุ-ความเสี่ยงของคุณ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งอะไรบ้าง

เช็กเลย! เพศ-อายุ-ความเสี่ยงของคุณ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งอะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“พบก่อน รักษาก่อน หายก่อน” 3 คำสั้นๆ สำหรับจุดประสงค์ของการตรวจคัดกรองมะเร็ง ที่แพทย์ทั่วโลกลงความเห็นว่า มะเร็งรักษาได้ หากเจออาการในระยะแรกๆ แล้วรับเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที แต่หลายๆ คนก็พลาดโอกาสนี้ไปเพราะไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม มะเร็งก็มีหลายชนิด หลายส่วน จะให้ตรวจให้หมดทุกส่วน ทุกปี หลายคนอาจจะรับมือไม่ไหว ดังนั้นเรามาสำรวจร่างกายของตัวเราเองกันดีกว่าว่าอย่างเราควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดไหนบ้าง

 

มะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมทุกๆ 1-2 ปี โดยเฉพาะคนที่มีสมาชิกครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม ไม่มีตั้งครรภ์ หรือมีบุตรคนแรกหลังอายุ 35 ปี และผู้ที่รับฮอร์โมนทดแทนในวัยทองมากกว่า 5 ปี

 

มะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงในช่วงอายุ 21-65 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 3-5 ปี และแนะนำให้ผู้หญิงที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรเข้ารับการตรวจหามะเร็งปากมดลูกเหมือนกับคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนด้วย

ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะเคยมี หรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักคนเดียว หรือหลายคน ก็มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งนั้น

 

มะเร็งปอด

ผู้ที่สูบบุหรี่หนัก (มากกว่า 30 ซองต่อปี) และยังสูบอยู่ หรือผู้ที่เคยสูบบุหรี่ แต่เลิกไปแล้วภายใน 15 ปีที่ผ่านมา และอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยเฉพาะการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำบริเวณทรวงอกทุกปี

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ชายที่อยู่ในวัย 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนอายุ 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก พร้อมกับการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อตรวจหาสาร PSA ในเลือด และการใช้นิ้วคลำทางทวารหนัก

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ตรง

ผู้หญิง และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร แบบ Sigmoidoscopy หรือ Colonoscopy อย่างน้อยทุกๆ 5-10 ปี

 

มะเร็งตับ

มีหลักฐานทางการแพทย์ในการแพร่ระบาด พบว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และติดเชื้อตับอักเสบซีแบบเรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับ ดังนั้นการตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg, Anti-HBs, และ Anti-HBc) และภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) จึงสามารถใช้ประเมินหาความเสี่ยง และเฝ้าระวังการเป็นมะเร็งตับได้

 

มะเร็งรังไข่

ในปัจจุบันการตรวจสอบหาสารบ่งชี้มะเร็ง CA 12-5 และ HE4 ในกระแสเลือด ได้รับการยอมรับทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยในระยะเบื้องต้นของโรคมะเร็งรังไข่ โดยเมื่อเทียบกับผู้หญิงปกติ พบว่าประมาณ 80-85% ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ มีระดับ CA 12-5 และ HE4 สูงขึ้น

 

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองมะเร็งไม่ได้เป็นการยืนยันว่าผู้รับการตรวจจะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งในอนาคต แต่เป็นเพียงการแสดงผล ณ ช่วงเวลาที่ท่านมารับบริการตรวจเท่านั้น กระนั้นก็ช่วยให้เราพบเชื้อมะเร็งในระยะแรก เพื่อทำการรักษาที่มีโอกาสหายได้มากขึ้น หากท่านมีอาการผิดปกติในอนาคต หรือต้องการทราบผลตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook